การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีขายและภาษีซื้อ
ภาษีขาย (Output Tax) หมายความว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการเมื่อขายสินค้า หรือรับชำระค่าบริการ
ภาษีซื้อ (Input Tax) หมายความว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เมื่อซื้อสินค้าหรือ ชำระค่าบริการเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตน
ภาษีซื้อที่ห้ามนำมาหักภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. กรณีไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ
2. กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์
3. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ได้แก่ ภาษีซื้อที่ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือกิจการโดยเฉพาะ
4. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
5. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
6. ภาษีซื้อตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 82/5 (6) ประกาศอธิบดี (ฉบับที่ 42) และ (ฉบับที่ 50) กำหนดไว้
วิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7
ภาษีที่ต้องชำระ = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
2. ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0
ภาษีที่ต้องชำระ = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
การยื่นแบบแสดงรายการและการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.1 ผู้ประกอบการจะทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.2 ผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
1.3 ผู้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่
1) ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร
2) ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาราจักร
1.4 ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วในอัตราร้อยละ 0
1.5 ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจะทะเบียน
2. ประเภทของแบบแสดงรายการและแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.1 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
1) แบบ ภ.พ. 30 ใช้สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียน
2) แบบใบขนสินค้าขาเข้า ใช้สำหรับผู้นำเข้าที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.2 แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ แบบ ภ.พ. 36 ใช้สำหรับผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
3. กำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.1 การยื่นแบบ ภ.พ. 30 ให้กระทำเป็นรายเดือนๆ ละครั้ง
3.2 การยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้า ให้ผู้ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้า ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้า
3.3 การยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
1) การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 1.3 และ 1.5 ให้นำส่งภาษีภายใน7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน
2) การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 1.4 ให้นำส่งภาษีภายใน 30 วัน
นับแต่วันที่รับโอน
4. สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ยื่น ณ สำนักงานเขต/ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรจะได้กำหนด
การบันทึกบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
รายการเกี่ยวกับภาษีขาย
1. การขายสินค้าเป็นเงินสดและเงินเชื่อ
1.1 เมื่อมีการขายสินค้า บันทึกการขายและจัดทำรายการภาษีขาย
เดบิต เงินสดหรือลูกหนี้การค้า XX
เครดิต ขาย XX
ภาษีขาย XX
1.2 เมื่อได้รับชำระราคาสินค้าไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
เดบิต เงินสดหรือธนาคาร XX
เครดิต ลูกหนี้การค้า XX
1.3 เมื่อรับคืนสินค้า และได้ออกใบลดหนี้แล้ว บันทึกการรับคืน และจัดทำรายงานภาษีขาย
เดบิต รับคืน XX
ภาษีขาย XX
เครดิต เงินสดหรือลูกหนี้การค้า XX
1.4 เมื่อรับชำระหนี้จากลูกหนี้การค้า และให้ส่วนลดเงินสด
เดบิต เงินสดหรือธนาคาร XX
ส่วนลดจ่าย XX
เครดิต ลูกหนี้การค้า XX
1.5 เมื่อมีการขายสินค้าโดยวิธีเช่าซื้อหรือโดยวิธีผ่อนชำระ
1) ณ วันทำสัญญา และได้รับเงินวางเริ่มแรก
เดบิต เงินสด XX
ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ XX
เครดิต ขาย XX
ภาษีขาย (ตามจำนวนเงินที่ได้รับ) XX
ดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดบัญชี XX
ภาษีขายที่ยังไม่ครบกำหนด XX
2) การรับรู้รายได้ในแต่ละงวด
เดบิต ดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดบัญชี XX
เครดิต ดอกเบี้ยเช่าซื้อ XX
3) เมื่อได้รับชำระเงินในแต่ละงวด
เดบิต เงินสด XX
ภาษีขายที่ยังไม่ครบกำหนด XX
เครดิต ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ XX
ภาษีขาย XX
1.6 การจำหน่ายหนี้สูญ การบันทึกภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่ตัดเป็นหนี้สูญเข้า
ข่ายตามข้อกำหนดตามประมวลรัษฎากร นั้นพิจารณาได้เป็น 2 กรณี ดังนี้
1) กรณีที่ข้อกำหนดตามประมวลรัษฎากรให้นำภาษีขายส่วนที่ตัดเป็น
หนี้สูญไปขอเครดิตได้
เดบิต หนี้สูญ XX
ภาษีขาย XX
เครดิต ลูกหนี้การค้า XX
และ
เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ XX
เครดิต หนี้สงสัยจะสูญ XX
2) กรณีที่ข้อกำหนดตามประมวลรัษฎากรให้ขอคืนภาษีขายส่วนที่ตัด
เป็นหนี้สูญแล้วเป็นเงินสดได้
เดบิต หนี้สูญ XX
ลูกหนี้กรมสรรพากร XX
เครดิต ลูกหนี้การค้า XX
และ
เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ XX
เครดิต หนี้สงสัยจะสูญ XX
2. การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่างและการให้บริการเป็นเงินเชื่อ
2.1 เมื่อมีการให้บริการเป็นเงินเชื่อ หรือการขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง บันทึก
รายได้และออกใบแจ้งหนี้
เดบิต ลูกหนี้การค้า XX
เครดิต รายได้จากการให้บริการ XX
ภาษีขายที่ยังไม่ครบกำหนด XX
2.2 เมื่อรับชำระหนี้จากลูกหนี้การค้า และจัดทำรายงานภาษีขาย
เดบิต เงินสดหรือธนาคาร XX
เครดิต ลูกหนี้การค้า XX
และ
เดบิต ภาษีขายที่ยังไม่ครบกำหนด XX
เครดิต ภาษีขาย XX
2.3 การรับชำระหนี้จากลูกหนี้การค้า และให้ส่วนลดเงินสด
เมื่อให้ส่วนลดเงินสด ให้บันทึกลดยอดขายและจัดทำรายงานภาษีขาย
เดบิต เงินสดหรือธนาคาร XX
ภาษีขายที่ยังไม่ครบกำหนด XX
ส่วนลดจ่าย XX
เครดิต ลูกหนี้การค้า XX
ภาษีขาย XX
3. การให้บริการเป็นเงินสด
เมื่อมีการให้บริการ บันทึกการให้บริการและจัดทำรายงานภาษีขาย
เดบิต เงินสด XX
เครดิต รายได้จากการให้บริการ XX
ภาษีขาย XX
4. การแจกแถมสินค้าที่ประมวลรัษฎากรให้ถือเป็นการขายสินค้า
บันทึกค่าใช้จ่าย และจัดทำรายงานภาษีขาย
เดบิต ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย XX
เครดิต สินค้าหรือภาษีซื้อ XX
ภาษีขาย XX
รายการเกี่ยวกับภาษีซื้อ
1. การซื้อสินค้าหรือทรัพย์สินทั้งเงินสดและเงินเชื่อ
1.1 เมื่อมีการซื้อ บันทึกการซื้อ และจัดทำรายงานภาษีซื้อ
เดบิต ซื้อสินค้าหรือทรัพย์สิน XX
ภาษีซื้อ XX
เครดิต เงินสดหรือเจ้าหนี้การค้า XX
1.2 เมื่อจ่ายชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า
เดบิต เจ้าหนี้การค้า XX
เครดิต เงินสดหรือธนาคาร XX
1.3 เมื่อส่งคืนสินค้าและได้รับใบลดหนี้แล้ว บันทึกการส่งคืน และจัดทำรายงานภาษีซื้อ
เดบิต เจ้าหนี้การค้า XX
เครดิต ส่งคืน XX
ภาษีซื้อ XX
1.4 เมื่อจ่ายชำระหนี้ ให้เจ้าหนี้การค้า และได้ส่วนลดเงินสด
เดบิต เจ้าหนี้การค้า XX
เครดิต เงินสดหรือธนาคาร XX
ส่วนลดรับ XX
2. การใช้บริการเป็นเงินเชื่อ
2.1 เมื่อมีการใช้บริการ บันทึกค่าบริการและได้รับใบแจ้งหนี้
เดบิต ค่าใช้จ่าย (ระบุ) XX
ภาษีซื้อที่ยังไม่ครบกำหนด XX
เครดิต ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย XX
2.2 เมื่อชำระค่าบริการและได้รับใบกำกับภาษี บันทึกการชำระหนี้ และจัดทำรายงานภาษีซื้อ
เดบิต ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย XX
เครดิต เงินสดหรือธนาคาร XX
และ
เดบิต ภาษีซื้อ XX
เครดิต ภาษีซื้อที่ยังไม่ครบกำหนด XX
5. การปิดบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. กรณีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ
เดบิต ภาษีขาย XX
เครดิต ภาษีซื้อ XX
เจ้าหนี้กรมสรรพากร XX
2.กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย
เดบิต ภาษีขาย XX
ลูกหนี้กรมสรรพากร XX
เครดิต ภาษีซื้อ XX
6. การแสดงรายการในงบการเงิน
ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ถ้าหากยอดคงเหลือในบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มมียอดทางด้านเดบิตให้แสดงไว้ในงบดุลภายใต้หัวข้อสินทรัพย์หมุนเวียน ถ้าหากยอดคงเหลือทางด้นเครดิตให้แสดงไว้ภายในหัวข้อหนี้สินหมุนเวียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น